Thursday, November 22, 2012

สูตรลับแห่งผิวสวยด้วยมะกอก

มะกอกความงามแห่งเมดิเตอร์เรเนียน สูตรลับแห่งผิวสวยด้วยมะกอก
http://img.loccitane.com/ocms/img/lib/promo/5601.jpg

ต้นมะกอกถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญประจำเขตเมดิเตอเรเนียน ที่ส่งทอดจิตวิญญาณแห่งความแข็งแกร่ง สง่างาม ความอุดมสมบูรณ์ จนถึงอายุยืนยาวด้วยความสงบสุข โดยล็อคซิทานจะร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลเก็บเกี่ยว Olive Harvest เป็นประจำทุกๆ ปี รวมถึงการสกัดน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (A.O.C.) ในเขตชาโต เดสตูบลง กลางหุบเขาแห่งแคว้นโพรวองซ์ เพื่อสืบสานประเพณีการเก็บเกี่ยวดั้งเดิมให้คงอยู่คู่กับท้องถิ่นแห่งเมดิเตอเรเนียนต่อไป



ในฤดูใบไม้ผลิ ผลมะกอกที่ถูกเก็บเกี่ยวแล้วจะถูกลำเลียงเข้าสู่เครื่องบดขนาดใหญ่ที่ทำจากหินกลึงเป็นรูปวงกลม และมีอุณหภูมิเย็นจัด ผลิตผลที่ได้จากการบดผลมะกอกนับพันคือ น้ำมะกอกบริสุทธิ์ที่ไหลรวมออกมากับน้ำมันมะกอกล้ำค่า ที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระในระดับความเข้มข้นที่สูง จึงนำมาบรรจุใส่ขวด นับเป็นส่วนหนึ่งขนบธรรมเนียมที่ชาวโพรวองซ์กระทำสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน



สูตรลับความงามแห่งเมดิเตอร์เรเนียน
มะกอกถือเป็นสูตรลับแห่งความงามอันเป็นอมตะแห่งเมดิเตอเรเนียนอย่างแท้จริง เพราะคุณค่าอันมหัศจรรย์แห่งธาตุอาหารอันสมบูรณ์ที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมในผลมะกอก มอบความชุ่มชื่นให้ผิวตามธรรมชาติ ฟื้นฟูและทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื่น พร้อมป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ซึ่งจะเริ่มพิธีการเก็บเกี่ยวกันในช่วงฤดูหนาว



มะกอกถือเป็นส่วนผสมหลักอันจะขาดไม่ได้ใน "สูตรการรักษาสุขภาพของเมดิเตอเรเนียน" ที่มีมายาวนานนับพันพันปี เพราะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินสำคัญมากมาย และที่สำคัญคือไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายโดยเฉพาะหัวใจของเรา



เคล็ดลับความงามอันเป็นอมตะจากดินแดนเมดิเตอร์เรเนียน  กล่าวกันว่า หลังจากที่หนุ่มสาวอาบเหงื่อต่างน้ำ ทำงานกันอย่างหนัก ตากแดดจนผิวไหม้เกรียม พวกเขาจะทาน้ำมันมะกอกลงบนผิวเพื่อให้ผิวเนียนนุ่มขึ้น เพราะน้ำมันมะกอกอุดมด้วยสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์และมีสรรพคุณช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม พร้อมต่อสู้กับริ้วรอยแห่งวัย



การเก็บเกี่บวผลมะกอกแสดงถึงความรักที่ชาวโพรวองซ์มีต่องานของพวกเขา โดยเคารพและยึดหลักธรรมเนียมของท้องถิ่นไว้สูงสุด น้ำมันมะกอกบริสุทธ์จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และตำรับอาหารชาวโพรวองซ์

กอก (ใต้) กอกเขา (นครศรีธรรมราช) มะกอก (ไทยภาคกลาง) มะกอกดง กร้าไพ้ย (กระเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กอกกุก (เชียงราย)

ชื่อที่เรียก    
มะกอก


ชื่ออื่นๆ    
กอก (ใต้) กอกเขา (นครศรีธรรมราช) มะกอก (ไทยภาคกลาง) มะกอกดง กร้าไพ้ย (กระเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กอกกุก (เชียงราย)
หมวดหมู่ทรัพยากร    
ยังไม่ได้ระบุ

ลักษณะ    
ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ 15-20 เมตร ลำต้นเดี่ยวตั้งตรง เนื้อไม้แข็ง กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลมกว้าง กิ่งก้านมีร่องอากาศกระจัดกระจายทั่วไป ใบ เเป็นใบประกอบรูปขนนกออกเรียงสลับ มีใบย่อย 9-13 ใบ เป็นรูปวงรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 3-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. ใบย่อย บริเวณโคนต้นฐานใบจะเรียว ใบอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดงอมเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม ดอก เป็นสีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง หรือซอกใบของกิ่งที่ใบร่วง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ขนาดเล็กดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ปลายกลีบแหลม บริเวณใจกลางดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลืองเป็นกระจุก ผล เป็นผลกลมรี ผลแก่สุกเป็นสีเขียวอมน้ำตาล มีเนื้อในฉ่ำน้ำ รสเปรี้ยวอมหวาน ภายในมี 1 เมล็ด เวลาติดผลเป้นพวงห้อย

ประโยชน์     สรรพคุณ

ใบ คั้นเอาน้ำหยอดหู แก้ปวดหู แก้หูอักเสบ เปลือกต้น ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้ปิดปวดมวน แก้สะอึก และแก้อาเจียน ผล แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ธาตุพิการ แก้บิด แก้โรค ขาดแคลเซียม ทำให้ชุ่มคอและแก้กระหายน้ำ เมล็ด รสเย็น สุ่มไฟแช่เอาน้ำดื่มแก้ร้อนใน แก้หอบ และแก้สะอึก ราก แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ และขับปัสสาวะ

แหล่งที่พบ    

เชิงเขาภูพาน
ตำบล    
หนองบัว
อำเภอ    
เมืองหนองบัวลำภู
จังหวัด    
หนองบัวลำภู
ฤดูกาลใช้ประโยชน์    
ฤดูฝน
ศักยภาพการใช้งาน    
ใช้ปรุงอาหารมีฤทธิ์ทางยา

ชื่อสามัญ    
olive
ชื่อวิทยาศาสตร์    
Spondias bipinnata Airy shaw & Forman
ชื่อวงศ์    
ANACARDIACEAE
แหล่งที่มาของข้อมูล    
http://www.walai.msu.ac.th/cdb/question.asp?QID=20

ต้นมะกอก ใบมะกอก




ต้นมะกอก
มีชื่อภาษาท้องถิ่นว่า กอก กูก มะกอกป่า มะกอกดง มะกอกฝรั่ง และมะกอก มีชื่อภาษาอังกฤษว่า ฮ๊อกปาล์ม (Hog Plum) ไวด์แมงโก (Wild Mango) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า สปอนเดียส พินนาตา (Spondias pinnata Kurz) จัดอยู่ในวงศ์ อะนาคาเคลียซีอี้ (Anacarcliaceae)


มะกอก มีคุณค่าทางโภชนาการคือ ประกอบด้วย พลังงาน เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก
เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน และ วิตามินซี

สรรพคุณของมะกอกและวิธีใช้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของมะกอก คือ ใบ ยอดอ่อนและใบอ่อน ผล เปลือกผล ราก และเมล็ด ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้ ค่ะ
ใบมะกอก ใช้ใบมะกอกมาคั้นเอาน้ำ นำน้ำที่ได้ไปหยอดหู ใช้แก้หูอักเสบ
ยอดอ่อนใบอ่อนของมะกอก ใช้แก้โรคบิด แก้โรคธาตุพิการ แก้ท้องเสีย มีรายงานว่าในยอดอ่อนของมะกอก 100 กรัม จะให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี นอกจากนี้แล้วยังพบว่าในยอดอ่อนของมะกอก 100 กรัมนั้นจะประกอบด้วยเส้นใย 16.7 กรัม แคลเซียม 49 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม วิตามินซี 53 มิลลิกรัม ด้วยเหตุนี้ยอดอ่อนของมะกอกจึงสามารถใช้รับประทานเป็นผักสดได้เป็นอย่างดี สำหรับในบ้านเรานิยมที่จะนำยอดอ่อนของมะกอกมาใช้เป็นเครื่องเคียงน้ำพริก กะปิ หรือใช้เป็นผักสดรับประทานกับขนมจีนน้ำยา


ผลมะกอก ใช้แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน และต้านอนุมูลอิสระ (วิตามินซีสูง) แก้ธาตุพิการแก้โรคขาดแคลเซียม ทำให้ชุ่มคอแก้กระหายน้ำ
ผล เปลือกผล ใบ มีสรรพคุณบำรุงสายตา ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ แก้เลือดออกตามไรฟัน มีสารต้านมะเร็ง และแก้ดีพิการ
รากมะกอก แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ มีสรรพคุณใช้ขับปัสสาวะ
เมล็ดมะกอก แช่เมล็ดมะกอกในน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ดื่มแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึก
เปลือกต้นมะกอก ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน ทำยาแก้ท้องเสีย


มะกอก : จากป่ามาสู่บ้านและครัว
มะกอกที่นำมากล่าวถึงนี้ เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านยังนึกหน้าตาไม่ออก หรือบางคนอาจนึกถึงผลมะกอกดองหรือมะกอกเชื่อมที่เคยกินจากรถเข็น ซึ่งความจริงเป็นผลของมะกอกน้ำอันเป็นผลไม้คนละชนิดกับมะกอกที่กำลังพูดถึง อยู่นี้ เพราะมะกอกซึ่งยกมาขึ้นต้นและกำลังจะเขียนถึงต่อไป เป็นต้นไม้ที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า spondias pinnata Kurz. ภาษาอังกฤษเรียก Hog Plum (ผลคล้ายลูกพลับ หมูป่าชอบกินผลมะกอก) ในประเทศไทยเรียกกันหลายชื่อ ทั่วไปเรียก มะกอก มะกอกบก มะกอกไทย มะกอกป่า ภาคใต้เรียกว่า กอก เชียงรายเรียกว่า กอกก๊ก เป็นต้น

“มะกอก เป็นผักพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยที่นำมาใช้ประกอบอาหารกันอย่างกว้างขวาง”

มะกอก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง โตเต็มที่อาจสูงกว่า 10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นอาจถึง 1 เมตร เปลือกเรียบ ต้นแก่เปลือกแตกเป็นร่อง เนื้อไม้สีขาว อ่อน ไม่มีแก่น ใบมีลักษณะใบรวมคล้ายขนนก ใบย่อยเป็นรูปไข่ออกสลับกันบนก้านใบ ผลเป็นรูปไข่ มีหลายขนาดปกติขนาดไข่ไก่ ผลสุกมีผิวสีเขียวอมเหลืองและจุดประสีเหลืองเข้มสลับดำ ในแต่ละผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ๆ เพียงเมล็ดเดียว เปลือกของเมล็ดมีเส้นใยหยาบปกคลุมคล้ายเมล็ดมะม่วง ช่อดอกมีสีขาวนวล ลักษณะคล้ายช่อดอกมะม่วง เพราะเป็นพืชอยู่ในวงศ์ (Family) เดียวกับมะม่วง คือ วงศ์ anacardiaceae

ในธรรมชาติมะกอกขึ้นเองตามป่าเบญจพรรณแล้งและ ป่าแดงทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบขึ้นอยู่ตามเรือกสวนไร่นาหรือในบริเวณบ้าน เนื่องจากมีผู้นำมาปลูกไว้ ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของมะกอกอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมทั้งไทย) แลหมู่เกาะต่างๆ ในเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ามะกอกเป็นพืชดั้งเดิมของชาวไทยชนิดหนึ่งเป็นที่รู้จัก คุ้นเคยอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวไทยมาแสนนาน


คน ไทยรู้จักและใช้ประโยชน์ มะกอกในฐานะผักพื้นบ้านอย่างหนึ่งมากกว่าใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ใบอ่อน (ยอด) และช่อดอกของมะกอกนั้น ชาวไทยนำมากินเป็นผักทั้งดิบและสุก ในตำรับสายเยาวภา กล่าวถึง มะกอกไว้ว่า “ยอดมะกอก กินดิบเป็นผักจิ้ม สุกก็กินได้ เผาจิ้มน้ำพริก” “ช่อมะกอก กินดิบ” ใบอ่อนมะกอกมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวและฝาดสมานใช้ได้ทั้งเป็นผักจิ้ม ใส่ยำ และแต่งกลิ่นอาหาร ช่อดอกมะกอกใช้ได้เช่นเดียวกับใบอ่อน

สำหรับผลมะกอกนิยมใช้ผลสุก ซึ่งมีรสเปรี้ยวอมฝาด หากกินเปล่าๆ ครั้งแรกจะรู้สึกเปรี้ยวอมฝาดต่อมาจะเปลี่ยนเป็นรสหวาน ชุ่มคอ ผลสุกมีกลิ่นหอมมาก เป็นกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งใช้แต่งกลิ่นอาหารได้ดี เช่น ใช้ตำน้ำพริกมะกอก โดยใช้ทั้งเนื้อสุกและเปลือกใช้แต่งรสน้ำปลาจิ้มพวกเนื้อหรือปลาย่าง ที่นิยมมากที่สุด คือ ใช้ผลมะกอกสุกเป็นส่วนประกอบของส้มตำ (ลาว) ให้กลิ่นและรสชาติเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนส้มตำตำรับอื่นๆ ความนิยมใช้ผลมะกอกสุกในตำรับส้มตำ (ลาว) นั้น เห็นได้จากราคาของผลมะกอกสุก ซึ่งบางฤดู (ที่มีผลมะกอกสุกน้อย) ราคาแพงถึงผลละหลายบาทเช่นเดียวกับราคาของผลมะนาวหน้าแล้งนั่นเอง

ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของมะกอก
เนื้อในผลสุกของมะกอกนอกจากใช้ทำกับข้าว (ของคาว) แล้วยังใช้ทำน้ำผลไม้ (ของหวาน) เป็นเครื่องดื่มได้ดีอีกด้วย โดยปอกเปลือกออกฝานเอาแต่เนื้อไปเข้าเครื่องปั่นผลไม้ เติมน้ำเชื่อมให้มีรสหวานตามชอบ จะได้เครื่องดื่มน้ำมะกอกที่มีกลิ่นและรสชาตอร่อยไม่เหมือนใคร และยังอุดมด้วยวิตามินซีและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่างๆ อีกด้วย

เนื้อไม้มะกอกแม้จะเป็นไม้เนื้ออ่อน แต่ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำกล่องไม้ขีด ทำไม้จิ้มฟัน ทำกล่องใส่ของ และหีบศพ เป็นต้น

ในตำราสรรพคุณสมุนไพรไทยกล่าวถึง คุณสมบัติของมะกอกในแง่สมุนไพรไว้หลายประการ เช่น
เปลือก ป่นเป็นผง ผสมน้ำ ใช้ทาแก้โรคปวดตามข้อ ใช้เป็นยาเย็นแก้โรคท้องเสีย โรคเกี่ยวกับลำไส้ ระงับอาเจียน

เมล็ด เผาไฟ แช่เอาน้ำดื่ม แก้อาการผิดสำแดง แก้ร้อนใน แก้หอบ สะอึก

ผลสุก ใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) รักษาโรคกระเพาะอาหารพิการ

แม้ตำราปลูกต้นไม้ในบ้านของชาวไทยจะไม่ถือว่ามะกอกเป็นไม้มงคล เพราะไม่มีข้อห้ามมิให้ปลูกมะกอกในบริเวณบ้าน (เช่น ลั่นทมหรือมะรุม) ดังนั้น หากผู้อ่านท่านใดมีพื้นที่บริเวณบ้านพอก็น่าจะหามะกอกมาปลูกไว้สักต้น เพราะนอกจากรูปทรงต้นและลักษณะใบที่งดงามแล้ว ท่านยังจะได้ประโยชน์จากมะกอกมากมาย

คุณค่าด้านอื่น ๆ ของมะกอก..

ไบโอเธิร์มค้นพบใบมะกอกชะลอผิวแก่ก่อนวัยต้านริ้วรอย
พืชพันธุ์อินเทรนด์ยามนี้เห็นทีจะไม่มีอะไรเท่า “มะกอก” อีกแล้ว แม้บ้านเราจะรู้จักน้ำมันมะกอกที่ใช้ชะโลมเส้นผมมานานแสนนานล่าสุด ไบโอเธิร์มได้พาลัดฟ้าเยี่ยมชมห้องปฎิบัติการที่ฝรั่งเศสและโมนาโก เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ต่อต้านริ้วรอยตัวใหม่ล่าสุด age fitness ที่มีส่วนผสมหลักจากธรรมชาติ ซึ่งก็คือสารสกัดบริสุทธิ์จากใบมะกอกที่เราสกัด เอาน้ำมันมาใช้นั่นแหละ แถมใบมะกอกยังมีส่วนช่วยชะลอวัยและริ้วรอยได้อีกด้วย ในห้องปฏิบัติการ มร.ลูเซียน อูแบร์ ผอ.ด้านวิจัยและพัฒนาของไบโอเธิร์มเล่าสรรพคุณของต้นมะกอก ที่ทำให้ชาวตะวันตกตื่นตัวกันมากขึ้น เป็นไม้ที่แข็งแรงทนทาน มีอายุยืนยาว มีชีวิตอยู่ได้แม้ในสภาพอากาศที่เลวร้ายทุกส่วนของมะกอกสามารถนำมาใช้ ประโยชน์ได้ทั้งหมด ดังนั้นนักชีววิทยาจึงได้ทำการวิจัยและพบว่าไฟเบอร์ในใบมะกอกเต็มไปด้วย โมเลกุลจำนวนมหาศาลเป็นสารแอนตี้ออกซิเดนซ์และเข้มข้นกว่าในผลมะกอกเสียอีก และใบมะกอกที่นำมาสกัดเป็นส่วนผสมสำคัญนั้นนำมาจากเมืองโพรวองซ์ ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส โดยใช้ขั้นตอนการสกัดที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆทั้งสิ้น หรือที่เรียกว่า biological+natural หรือชีววิทยา+ธรรมชิาตินั้นเอง จะทำให้สารสกัดเข้มข้น 100% และอุดมไปด้วย oleuropein ที่มีคุณสมบัติเด่นในการต่อต้านการเกิดริ้วรอยและอาการแก่ก่อนวัยการปกป้อง ผิวทางธรรมชาติเพราะพบว่า เซลล์ที่ได้รับสารสกัดเข้มข้นของใบมะกอกการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนบนชั้น ไขมันของผิวหนังเนื้อเยื่อที่มีการเติมสารสกัดเข้มข้นบริสุทธิ์ของใบมะกอก การกระตุ้นกระบวนการสังเคราะห์คอลลาเจน จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมนอกจากน้ำมันมะกอกจะให้รสชาติที่ถูกปากและ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแล้วส่วนที่ได้จากใบมะกอกก็ไม่น้อยหน้าสามารถนำมาช่วย บำรุงผิวพรรณชะลอริ้วรอยที่เกิดก่อนวัยอันควร แบบนี้คงไม่มีใครปฎิเสธ มะกอก ต้นไม้ที่กำลังอินเทรนด์อยู่ในเวลานี้อีกแล้ว
จัดทำโดย นางสาวพูลศิริ คลีดิษฐ์ ไทยรัฐ


ด้านทำอาหาร
ความเป็นมา
ใบมะกอกอ่อนๆ มีรสเปรี้ยวอมฝาด นิยมกินกับน้ำพริกหรือปลาร้าสับ คนเมืองกาญจน์เอาใบมะกอกมายำกับเนื้อสัตว์ อร่อยมาก ยิ่งถ้าเป็นแย้ย่างจะเด็ดมาก แต่ผมไม่กินสัตว์ป่าเลยเปลี่ยนเป็นกบย่างแทน


ส่วนผสม
1. กบสาวๆ ย่างกาบมะพร้าวหอมๆ สักสองตัว ถ้าเขาย่างมาไม่แห้งให้เอามาย่างซ้ำให้แห้งๆ หน่อย
2. ใบมะกอกอ่อน เอามาย่างไฟแรงๆ ให้เกรียมๆ บ้าง และบางส่วนก็ให้พอสลบ
3. ตะไคร้ ใบมะกรูด
4. หอมย่าง พริกแห้งย่าง
5. น้ำพริกเผา ควรทำเอง อย่างขายเป็นขวดมักหวานไปหน่อย



วิธีทำ
สับกบแล้วฉีกๆๆๆ ไม่เอากระดูก ไม่เอาเล็บเท้ากบ กินแล้วระคายปาก
ใบมะกอกย่างหั่นฝอยๆๆๆๆ
ตะไคร้ใบมะกรูดซอยๆๆๆๆ
พริกแห้งย่างไฟ หัวหอมย่างไฟ หั่นๆ ฉีกๆ รอไว้
เอาทั้งหมดคลุกเคล้ากัน อย่าลืมใส่น้ำพริกเผา ปรุงรส ให้มีความเผ็ดจากน้ำพริกเผา เค็มน้ำปลา และเปรี้ยวใบมะกอก

ที่ี่มาของข้อมูลและภาพ

http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio45-46/45-460052.htm
http://www.vcharkarn.com/varticle/39908
http://www.siamfishing.com/content/view.php?id=141&cat=recipe
http://new.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-2290.html

มะกอก ผักพื้นบ้านที่ไม่ชอบคนเจ้าเล่ห์


มะกอกสามตะกร้า ปาไม่ถูก”
           ประโยคที่ยกมาข้างบนนี้ เป็นคำพังเพยดั้งเดิมของชาวไทยที่ใช้เปรียบเทียบ (โทษ) ลักษณะของคนประเภทกลิ้งกลอกเจ้าเล่ห์ที่ทำอย่างไรก็จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน เหมือนกับเอาผลมะกอกตั้งสามตะกร้าขว้างปาก็ยังไม่ถูกเลยสักครั้งเดียว คนประเภทนี้สมัยก่อนรียกกันว่าเป็นคน “มะกอกสามตะกร้า” ก็จะเข้าใจกันทั่วไป

           แต่ในปัจจุบันคงต้องเปลี่ยนคำเรียกเสียใหม่ เพราะแม้คนประเภทนี้จะมีมากขึ้น (เช่น นักการเมืองหรือพ่อค้าบางคน) แต่คำพังเพยประโยคนี้กลับมีผู้เข้าใจความหมายน้อยลง จึงอาจใช้คำว่า “จอมกะล่อน” หรือ “สิบแปดมงกุฏ” แทนก็ได้ เพราะมีความหมายเช่นเดียวกัน

           เหตุที่คนไทยโบราณใช้มะกอกมาเป็นสิ่งเปรียบเทียบในคำพังเพยบทนี้ ก็คงเป็นเพราะว่าในสมัยนั้นคนไทยส่วนใหญ่พบเห็นและรู้จักคุ้นเคยกับมะกอก (รวมทั้งตะกร้าด้วย) กันเป็นอย่างดี เนื่องจากมะกอกเป็นผักพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยที่นำมาใช้ประกอบอาหารกัน อย่างกว้างขวางนั่นเอง

มะกอก : จากป่ามาสู่บ้านและครัว

           มะกอกที่นำมากล่าวถึงนี้ เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านยังนึกหน้าตาไม่ออก หรือบางคนอาจนึกถึงผลมะกอกดองหรือมะกอกเชื่อมที่เคยกินจากรถเข็น ซึ่งความจริงเป็นผลของมะกอกน้ำอันเป็นผลไม้คนละชนิดกับมะกอกที่กำลังพูดถึง อยู่นี้ เพราะมะกอกซึ่งยกมาขึ้นต้นและกำลังจะเขียนถึงต่อไป เป็นต้นไม้ที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า spondias pinnata Kurz. ภาษาอังกฤษเรียก Hog Plum (ผลคล้ายลูกพลับ หมูป่าชอบกินผลมะกอก) ในประเทศไทยเรียกกันหลายชื่อ ทั่วไปเรียก มะกอก มะกอกบก มะกอกไทย มะกอกป่า ภาคใต้เรียกว่า กอก เชียงรายเรียกว่า กอกก๊ก เป็นต้น

           “มะกอก เป็นผักพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยที่นำมาใช้ประกอบอาหารกันอย่างกว้างขวาง”

           มะกอก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง โต เต็มที่อาจสูงกว่า 10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นอาจถึง 1 เมตร เปลือกเรียบ ต้นแก่เปลือกแตกเป็นร่อง เนื้อไม้สีขาว อ่อน ไม่มีแก่น ใบมีลักษณะใบรวมคล้ายขนนก ใบย่อยเป็นรูปไข่ออกสลับกันบนก้านใบ ผลเป็นรูปไข่ มีหลายขนาดปกติขนาดไข่ไก่ ผลสุกมีผิวสีเขียวอมเหลืองและจุดประสีเหลืองเข้มสลับดำ ในแต่ละผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ๆ เพียงเมล็ดเดียว เปลือกของเมล็ดมีเส้นใยหยาบปกคลุมคล้ายเมล็ดมะม่วง ช่อดอกมีสีขาวนวล ลักษณะคล้ายช่อดอกมะม่วง เพราะเป็นพืชอยู่ในวงศ์ (Family) เดียวกับมะม่วง คือ วงศ์ anacardiaceae

           ในธรรมชาติมะกอกขึ้นเองตามป่าเบญจพรรณแล้งและ ป่าแดงทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบขึ้นอยู่ตามเรือกสวนไร่นาหรือในบริเวณบ้าน เนื่องจากมีผู้นำมาปลูกไว้ ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของมะกอกอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมทั้งไทย) แลหมู่เกาะต่างๆ ในเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ามะกอกเป็นพืชดั้งเดิมของชาวไทยชนิดหนึ่งเป็นที่รู้จัก คุ้นเคยอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวไทยมาแสนนาน



           คน ไทยรู้จักและใช้ประโยชน์ มะกอกในฐานะผักพื้นบ้านอย่างหนึ่งมากกว่าใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ใบอ่อน (ยอด) และช่อดอกของมะกอกนั้น ชาวไทยนำมากินเป็นผักทั้งดิบและสุก ในตำรับสายเยาวภา กล่าวถึง มะกอกไว้ว่า “ยอดมะกอก กินดิบเป็นผักจิ้ม สุกก็กินได้ เผาจิ้มน้ำพริก” “ช่อมะกอก กินดิบ” ใบอ่อนมะกอกมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวและฝาดสมานใช้ได้ทั้งเป็นผักจิ้ม ใส่ยำ และแต่งกลิ่นอาหาร ช่อดอกมะกอกใช้ได้เช่นเดียวกับใบอ่อน

           สำหรับผลมะกอกนิยมใช้ผลสุก ซึ่งมีรสเปรี้ยวอมฝาด หากกินเปล่าๆ ครั้งแรกจะรู้สึกเปรี้ยวอมฝาดต่อมาจะเปลี่ยนเป็นรสหวาน ชุ่มคอ ผลสุกมีกลิ่นหอมมาก เป็นกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งใช้แต่งกลิ่นอาหารได้ดี เช่น ใช้ตำน้ำพริกมะกอก โดยใช้ทั้งเนื้อสุกและเปลือกใช้แต่งรสน้ำปลาจิ้มพวกเนื้อหรือปลาย่าง ที่นิยมมากที่สุด คือ ใช้ผลมะกอกสุกเป็นส่วนประกอบของส้มตำ (ลาว) ให้กลิ่นและรสชาติเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนส้มตำตำรับอื่นๆ ความนิยมใช้ผลมะกอกสุกในตำรับส้มตำ (ลาว) นั้น เห็นได้จากราคาของผลมะกอกสุก ซึ่งบางฤดู (ที่มีผลมะกอกสุกน้อย) ราคาแพงถึงผลละหลายบาทเช่นเดียวกับราคาของผลมะนาวหน้าแล้งนั่นเอง

ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของมะกอก
           เนื้อในผลสุกของมะกอกนอกจากใช้ทำกับข้าว (ของคาว) แล้วยังใช้ทำน้ำผลไม้ (ของหวาน) เป็นเครื่องดื่มได้ดีอีกด้วย โดยปอกเปลือกออกฝานเอาแต่เนื้อไปเข้าเครื่องปั่นผลไม้ เติมน้ำเชื่อมให้มีรสหวานตามชอบ จะได้เครื่องดื่มน้ำมะกอกที่มีกลิ่นและรสชาตอร่อยไม่เหมือนใคร และยังอุดมด้วยวิตามินซีและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่างๆ อีกด้วย


           เนื้อไม้มะกอกแม้จะเป็นไม้เนื้ออ่อน แต่ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำกล่องไม้ขีด ทำไม้จิ้มฟัน ทำกล่องใส่ของ และหีบศพ เป็นต้น

ในตำราสรรพคุณสมุนไพรไทยกล่าวถึงคุณสมบัติของมะกอกในแง่สมุนไพรไว้หลายประการ เช่น
           เปลือก ป่นเป็นผง ผสมน้ำ ใช้ทาแก้โรคปวดตามข้อ ใช้เป็นยาเย็นแก้โรคท้องเสีย โรคเกี่ยวกับลำไส้ ระงับอาเจียน

           เมล็ด เผาไฟ แช่เอาน้ำดื่ม แก้อาการผิดสำแดง แก้ร้อนใน แก้หอบ สะอึก

           ผลสุก ใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) รักษาโรคกระเพาะอาหารพิการ

           แม้ตำราปลูกต้นไม้ในบ้านของชาวไทยจะไม่ถือว่ามะกอกเป็นไม้มงคล เพราะไม่มีข้อห้ามมิให้ปลูกมะกอกในบริเวณบ้าน (เช่น ลั่นทมหรือมะรุม) ดังนั้น หากผู้อ่านท่านใดมีพื้นที่บริเวณบ้านพอก็น่าจะหามะกอกมาปลูกไว้สักต้น เพราะนอกจากรูปทรงต้นและลักษณะใบที่งดงามแล้ว ท่านยังจะได้ประโยชน์จากมะกอกมากมาย

           ยิ่งกว่านั้นยามที่ท่านมองเห็น ต้นมะกอก ก็อาจระลึกถึงคำพังเพยเก่าแก่ของไทยที่ยกมาข้างต้น และระมัดระวังตัวให้ปลอดภัยจากบุคคลประเภท “มะกอกสามตะกร้า” ทั้งหลาย ไม่ว่าจะแฝงตัวมาในรูป “นักการเมือง” หรือ “นักธุรกิจ” ฯลฯ ก็ตาม
ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของหมอชาวบ้าน กับเว็บไซต์วิชาการดอทคอมwww.doctor.or.th

ประโยชน์ของ มะกอก



วันนี้ก็ได้ หาความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของมะกอก และสรรพคุณของมะกอก ซึ่งจัดว่าเป็นพืชผักสมุนไพรไทยพื้นบ้าน อีกอย่างหนึ่งที่มีตั้งแต่สมัยไหนแล้ว สำหรับประโยชน์ของมะกอก และ สรรพคุณของมะกอก มันมีมากมายแบบว่า อย่างที่เราคาดไม่ถึงกันเลยล่ะ ส่วนใหญ่แล้วมักจะนำ ผลมะกอก และ ยอดมะกอก เพื่อนำมารับประทานกันค่อนข้างมากอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ชอบรับประทานส้มตำ ที่เอามะกอกมาใส่ในส้มตำ และก็น่าจะเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว ในเรื่องของรสชาติมะกอก ทั้งกลิ่น และรสของมะกอก กันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่อาจจะมีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่ามะกอกนี้มี ประโยชน์ และ สรรพคุณอะไรกันบ้าง วันนี้เราก็มาบอกเล่าให้ได้รู้กันอีกด้วย เรามารู้ข้อมูลของประโยชน์ของมะกอก และสรรพคุณของมะกอก ซึ่งเป็นหนึ่งในสมุนไพรไทยที่ใกล้ตัว กันแล้วกัน…
มาดู ประโยชน์ ของมะกอกกันก่อนเลย

- ยอดของมะกอก นำกินดิบๆ เป็นผักจิ้ม หรือรับประทานสุกก็ได้นะ เอามาเผาจิ้มน้ำพริกก็อร่อยไม่แพ้ก้น
-เนื้อไม้ของต้นมะกอก ถุงแม้ว่าจะเป็นไม้เนื้ออ่อน แต่ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างด้วยนะ เช่น เอามาทำกล่องไม้ขีด เอามาทำไม้จิ้มฟัน ทำกล่องไว้ใส่ของ หรือว่าจะทำเป็นหีบศพก็ยังได้
- เปลือกมะกอก นำมาบดเป็นผง นำมาผสมน้ำ แล้วใช้ทาแก้โรคปวดตามข้อ หรือจะใช้เป็นยาเย็น ช่วยแก้โรคท้องเสีย, โรคเกี่ยวกับลำไส้, ระงับอาเจียน เป็นต้น

- เมล็ดมะกอก นำไปเผาไฟ แล้วเอามาแช่เอาน้ำมาดื่ม, ช่วยแก้อาการผิดสำแดง, แก้ร้อนใน ,แก้หอบ, สะอึก เป็นต้น

- ผลสุกมะกอก นำมาใช้เป็นยาฝาดสมาน, ช่วยแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน หรือลักปิดลักเปิด ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารพิการ มีรสชาติของมะกอก มีรสเปรี้ยวอมฝาด ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นรสหวาน ทำให้ ชุ่มคอ และผลสุกของมะกอกก็มีกลิ่นหอมมากด้วย

ถึงแม้ว่า ในตำราปลูกต้นไม้ในบ้านเรา จะไม่ถือว่ามะกอกเป็น ไม้มงคล เพราะไม่มีข้อห้าม ไม่ห้ปลูกต้นมะกอกเอาไว้ในบริเวณบ้าน หากมีพื้นที่บริเวณบ้านพอ ก็น่าจะลองหาต้นมะกอกมาปลูกไว้ที่บ้านสักต้นก็ได้นะ เพราะว่านอกจากรูปทรงต้น และลักษณะใบที่งดงามแล้ว ยังจะได้ใช้ประโยชน์จากต้นมะกอกหลายอย่างเลยล่ะ

มะกอก สมุนไพรไทย สุดยอดแห่งคุณค่า


จริงแล้วในบทความก่อนหน้านี้ผมเคยได้พูดถึงมะกอกไปแล้ว ในเรื่อง ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ผลไม้ไทยที่ให้คุณค่า แต่ ยังไม่มีโอกาศไปเจาะลึกถึงสรรพคุณด้านอื่นๆของมะกอก มาในบทความนี้จะขอลงลึกถึงเรื่องของมะกอก สมุนไพรไทยที่เราคุ้นเคย จนบางครั้งลืมไปถึงคุณค่าที่แฝงอยู่ในมะกอก
 ข้อมูลโดยทั่วไปของมะกอก

ผลมะกอก

ชื่อวิทยาศาสตร์
 :  Spondias cytherea  Sonn.
ชื่อสามัญ :  Jew’s plum, Otatheite apple
วงศ์ :  Anacardiaceae
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่อตามท้องถิ่น :  มะกอก (กลาง) กอกฤก กูก กอกหมอง (เหนือ)  กอกเขา (ใต้ทางนครศรีธรรมราช) กอก (ใต้) มะกอกดง ไพแซ  มะกอกฝรั่ง หมากกอก (อุดร-อีสาน-จังหวัดบ้านเกิดของผู้เขียน)
รูปร่างลักษณะของต้นมะกอก (ดูรูปประกอบ) :

ลักษณะของต้นมะกอก

ลักษณะต้น สูง 7-12 เมตร เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือน้ำตาลแดง
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาว ใบย่อยรูปไข่ค่อนข้างเรียวแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย
ดอก ออกเป็นช่อแบบเพนิเคิล* ตามปลายยอด ดอกย่อยมีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ฐานรองดอกมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ
* อธิบายนิดนึงถึงเผื่อไปเจอในบทความอื่นจะได้เข้าใจคำว่าช่อแบบ เพนิเคิล เป็นช่อดอกที่มีช่อดอกแตกออกมาจากช่อดอกใหญ่อีกทีหนึ่ง
ผล รูปไข่หรือรูปกระสวย มียางคล้ายไรไข่ปลา ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม ผลแก่มีสีเขียวอมเหลือง สุกมีสีส้ม เมล็ด กลมรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง และมีขนแข็งที่เปลือกหุ้มเมล็ด ที่เรามักเห็นจุดดำๆในมะกอกเป็นจุดที่เกิด จากการเก็บไว้นาน แล้วทำปฏิกริยากับอากาศ
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ :  ผล เปลือก ใบ ยาง เมล็ด
สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย :
  • เนื้อผลมะกอก - มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ*โดยน้ำดีไม่ปกติ และมี่ประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย
ธาตุพิการ หรืออาหารไม่ย่อย (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้อง อึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน
  • น้ำคั้นใบมะกอก - ใช้หยอดหู แก้ปวดหูได้ (ตรงนี้หากกรณีมีแมลเข้าหูและนำน้ำมันมะกอกนะครับ)
  • ผลมะกอกสุก - รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี  ลักษณะแบบตอนกินแล้วฝาดแต่พอกินน้ำตามแล้วหวานคอดีเช่น เดียวกันกับผลมะขามป้อม
  • เปลือก - ฝาด เย็นเปรี้ยว แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
  • เมล็ดมะกอก - สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใผ
ใบอ่อนหรือยอดอ่อน – รับประทานเป็นอาหารได้
ประโยชน์ทางอาหารของมะกอก

ยอดมะกอก ใช้เป็นอาหารได้

ส่วนที่เป็นผักคือยอดอ่อนและใบอ่อน ออกในฤดูฝน และออกเรื่อยๆ ตลอดทั้งปี ส่วนผลเริ่มออกในฤดูหนาว การปรุงอาหารคนไทยทุกภาคของเมืองไทยรู้จักและรับประทานยอดมะกอกเป็นผักสด
ในภาคกลางรับประทานยอดอ่อนใบอ่อน ร่วมกับน้ำพริกปราร้า เต้าเจี๊ยวหลน ชาวอิสานรับประทานร่วมกับ ลาบ ก้อย แจ่วป่นต่างๆ  โดยเฉพาะกินกับลาบนี่อร่อยเหาะ(ผู้เขียน)    สำหรับผลสุกของมะกอกนิยามฝานเป็นชิ้นเล็กๆใส่ในส้มตำหรือพล่ากุ้ง รสชาติจะอร่อยยิ่งๆขึ้น
คุณค่าทางอาหารของมะกอก
-        ยอดอ่อนของมะกอก  100 กรัม ให้พลังงาน 46 กิโลแคลอลี่ไม่มีบลาบลา
-        เส้นใย (fiber) 16.7 กรัม
-        แคลเซียม 49 มิลลิกรัม
-        ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม
-        เหล็ก 9.9 มิลลิกรัม
-        เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม
-        วิตามินเอ 337 ไมโครกรัมของเรตินอล
-        วิตามินบีหนึ่ง  0.96 มิลลิกรัม
-        วิตามินบีสอง  0.22 มิลลิกรัม
-        ไนอาซิน 1.9 มิลลิกรัม
-        วิตามินซี 53 มิลลิกรัม
น้ำมันมะกอกต้านมะเร็งผิวหนัง
ความนิยม น้ำมันมะกอกในบ้านเรามีมากขึ้น มีหลากหลายยี่ห้อวางขาย ใส่ผมบ้าง ทาผิวบ้างก็มี รวมไปถึงแบบที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งแพงหน่อยนึง จริงๆการทานน้ำมันมะกอกชาวยุโรปฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนจะนิยมทานมานานแล้ว  แต่บ้านเราอาจไม่นิยมมากนัก เลยมีผู้ผลิตแบบใช้ประกอบอาหารไม่มาก ราคาจึงสูง   ซึ่งน้ำมันมะกอกนี้เองนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย โกเบ ของญี่ปุ่น ซึ่งไม่ใกล้กับโกฮับ ที่เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวของไทย (ตะลึ่งตึ่งโป๊ะ)  วิจัยมาแล้วว่ามีสรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้   โดยใช้นำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์ ทาหลังจากออกแดด โดยในน้ำมันมะกอกมี วิตามิน E และ C สูง ที่สามรถไปจัดการอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดเมื่อร่างกายได้รับรังสี UV จากแดดที่ทำลายเซลล์ผิวหนัง โดยน้ำมันมะกอกจะช่วยไปชะลอการเกิดเนื่องอก และลดความเสียหานที่เกิดกับเซลล์ได้
นำมันมะกอกกับการประกอบอาหาร
น้ำมันมะกอก ใช้ประกอบอาหารได้
อย่างที่บอกว่าน้ำมันมะกอกมีสารต้านอนุมูลอิสระมาก ประกอบกับมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว จึงเหมาะกับการทอดด้วยความร้อนสูง สมารถใช้ซ้ำได้โดยไม่เกิดปฏิกริยาเปลี่นแปลงใดๆ (ไม่เกิดปฏกริยาออกซิเดชั่น จนเกิดเป็นสารพิษตกค้าง เหมือนไขมันสัตว์ และไขมันจากเมล็ดพืช)
อีกอย่างเมื่อนำมาทอดน้ำมันมะกอกจะทำให้อาหารดูดซึมน้ำมันเพียงเล็กน้อย ทำให้รสชาติอาหารดี ประกอบกับความหอมของน้ำมันมะกอก   จากหนังสือ Herb & Healthy ได้สรุปประโยชน์ของน้ำมันมะกอกไว้เป็นประเด็นดังนี้
1.ช่วยในการหมุนเสียนของดลหิต ป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ป้องกันความดันโลหิตสูงหัวใจล้มเหลว
2.ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะตับอ่อน ลำไส้ ถุงน้ำดี ยังป้องกันการก่อตัวของนิ่วอีกด้วย
3.ช่วยในเรื่องผิวหนัง ให้มีความยืดหยุ่น และป้องกันมะเร็งดังที่ได้พูดไปแล้ว
4.น้ำมันมะกอกช่วยระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic function) ภายในร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกที่ดีในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน (พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดลดลง 12 % เมื่อรับประทานน้ำมันมะกอก)
5.ดีต่อระบบกระดูก เพราะน้ำมันมะกอกช่วยร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมได้ดี
6.ป้องกันโรคมะเร็ง เนื่องจากสารต้านอนุมูลอิสระ ดังที่ได้กล่าวไปในบทความเรื่อง สารต้านอนุมูลอิสระ
7.ทำให้ร่างกายทนทานต่อสารกัมมันภาพรังสี ได้ดีขึ้น (แต่ไม่ใช่ทานแล้วไป จับกากนิวเคลียร์เลยนะ อันนี้แค่ทำให้ร่างกาย ไวต่อผลจากรังสีน้อยลง ยังต้องป้องกันที่ชุดอยู่ดี) โดยน้ำมันมะกอกเป็นอาหารที่ถูกบรรจุใน list อาหารของนักบินอวกาศ
8. อาหารเด็กอ่อน เนื่องจากน้ำมันมะกอกมีน้ำมันตามธรรมชาติใกล้เคียงกับน้ำนมมารดา (แต่น้ำนมมารดา ต้องสำคํญที่สุดนะครับ อันนี้ใช้ทำพวกอาหารไว้เสริมให้เด็กกิน)
9. ป้องกันการชราภาพและยังยั้งการเสื่อมถอบของสมอง
10.ป้องกันภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการวิจัยพบว่าน้ำมันมะกอกช่วยลดระดับ คอเรสโตรอลชนิดเลวหรือ LDL แต่ไม่ทำให้ลด คอเรสโตรอลชนิดดี HDL ได้
นี่แหละครับคือประโยชน์จากมะกอก

ขอความกรุณาทุกท่านที่นำบทความนี้ไป share ต่อหรือไปลงที่ web อื่นๆ
รบกวนใส่ลิ้งค์   http://ไทยสมุนไพร.net  เพื่อให้เครดิต ด้วยนะครับ
ข้อมูลอ้างอิง    สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด – สมเด็จพระเทพ (www.rspg.or.th)  ,หนังสือ herb & health  ,thai  wikipedia

Monday, November 19, 2012

น้ำมันมะกอกสามารถแก้อาการนอนกรนได้

น้ำมันมะกอกสามารถแก้อาการนอนกรนได้

                        หลายๆคนคิดว่า การนอนกรนนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ ทำให้มองข้ามอันตรายที่ตามมาเนื่องจากการ นอนกรน และการกรนระหว่างนอนนั้นอาจเป็นสัญญาณถึงโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea)ทราบหรือไม่ น้ำมันมะกอกสามารถแก้อาการนอนกรนได้ 
                        มะกอกจัดเป็นผลไม้ที่มี เม็ดในแข็ง หนึ่งลูกจะมีหนึ่งเมล็ด เป็นพืชที่ทนได้ทุกสภาวะอากาศ ดอกมะกอกจะออกช่อในช่วงปลายฤดูหนาว มีดอกเล็กๆ สีขาว ผลจะโตเต็มที่ประมาณ 7-8 เดือน หลังออกดอกลำต้นจะสูงตั้งแต่ 3 เมตร จนถึง 18 เมตร ใบเรียวยาวสีเขียวเข้ม มีหลากหลายพันธุ์ ตัวผลมีรสขมและฝาด เมื่อแก่จัดสีจะเปลี่ยนจากเขียวจนเป็นสีคล้ำจนเกือบดำ มะกอกเป็นผลไม้ที่มีน้ำมันมากที่สุด ในผลมะกอกที่แก่จัด 100 กรัม ให้น้ำมันถึง 20-30 กรัม การสกัดเอาน้ำมันต้องเลือกผลที่แก่จัด จึงจะได้น้ำมันมะกอกที่มีประสิทธิภาพ
                         น้ำมัน มะกอกถึงแม้ จะมีแคลอรี่สูง แต่ข้อดี คือ มีกรดไขมันชนิดหนึ่งที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย และยังช่วยให้คนที่มีอาการนอนกรนลดเสียงกรนให้เบาลงได้ ด้วยการรับประทานน้ำมันมะกอกสำหรับทำอาหาร เพียง รับประทานวันละ 4-5 หยด ก่อนนอน ควรรับประทานอย่างต่อเนื่อง แนะให้ทำควบคู่ไปกับดูแลสุขภาพวิธีอื่นๆ โดยเฉพาะการควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากจะช่วยแก้ปัญหานอนกรนได้
                         คนที่นอนกรนนั้นจะพบว่าตนเองง่วงนอนนอน, ขาดสมาธิ, รู้สึกเหมือนว่านอนไม่พอทั้งๆที่ไม่ได้นอนดึก เป็นเพราะว่าสมองได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เนื่องจากมีการปิดกั้นทางเดินของอากาศภายในลำคอจึงเห็นได้ว่าการนอนกรนเป็น ปัญหาร้ายแรงที่ควรหาทางแก้ไขโดยเร็วที่สุด

ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก

ประโยชน์ของน้ำมันมะกอก
ประโยชน์ของน้ำมันมะกอกมีทั้งการช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ทำหน้าที่เหมือนยาระบายอ่อนๆ ช่วยทำให้ระบบดูดซึมแร่ธาตุและวิตามินทำงานดีขึ้น และน้ำมันมะกอกยังกระตุ้นการเก็บรักษาแร่ธาตุของกระดูก เพื่อป้องกันการสูญเสียแคลเซียมในกระดูกของผู้สูงอายุได้ด้วย อีกทั้งยังช่วยให้อาหารมีรสชาติอร่อย ช่วยให้เจริญอาหารได้อีกอย่างหนึ่ง


ประโยชน์ของน้ำมันมะกอกที่ให้ผลดีต่อสุขภาพนั้นมีหลายประการ สรุปได้ดังนี้
*การหมุนเวียนของโลหิต น้ำมันมะกอกช่วยป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (arteriosclerosis) รวมทั้งภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว หัวใจวาย ไตวาย และเส้นเลือดใน สมองแตก
*ระบบย่อย น้ำมันมะกอกช่วยให้ระบบการทำงานของส่วนต่างๆ ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระเพาะอาหาร ตับอ่อน ลำไส้ และถุงน้ำดี ทั้งนี้ยังช่วยป้องกันการก่อตัวของนิ่วอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลบ่งชี้ว่าน้ำมันมะกอกช่วย บรรเทาอาการกระเพาะอักเสบ แผลในกระเพาะ และยังเป็นยาระบายอ่อนๆ
* ผิวหนัง น้ำมันมะกอกช่วยปกป้องหนังกำพร้า ช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ซึ่งเกิดจากวิตามินอี และ สารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันมะกอกนั่นเอง นอกจากนี้ยังใช้ได้ผลดีในการป้องกันโรคผิวหนังและลดริ้วรอยเหี่ยวย่น
* ระบบต่อมไร้ท่อ น้ำมันมะกอกช่วยให้ระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic function) ภายในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพน้ำมันมะกอกได้กลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการป้องกันและ
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานจากการศึกษาล่าสุดพบว่าระดับกลูโคสของผู้ที่มีสุขภาพ
ดีจะลดลง12%เมื่อรับประทานน้ำมันมะกอก
* ระบบกระดูก น้ำมันมะกอกช่วยในการเสริมสร้างกระดูก และช่วยให้ร่างกายของคนเรามีประสิทธิภาพในการดูดซึม แร่ธาตุและแคลเซี่ยมได้ดี และสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุน
* โรคมะเร็ง น้ำมันมะกอกช่วยป้องกันเนื้องอกที่เกิดกับอวัยวะบางส่วน (เต้านม ต่อมลูกหมาก ลำไส้ใหญ่ ปีกมดลูก) ทั้งนี้เพราะกรดไขมันที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอกนั้นช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ และช่วยต่อต้านการก่อตัวของ ติ่งเนื้อในอวัยวะต่างๆ ที่กล่าวมา
* สารกัมมันตภาพรังสี ภายหลังจากที่มีการค้นพบว่าน้ำมันมะกอกช่วยให้ร่างกายสามารถต้านทานสารกัมมันตภาพรังสีได้ น้ำมันมะกอกได้รับบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของอาหารสำหรับนักบินอวกาศ
* อาหารเด็กอ่อน ด้วยสารประกอบในน้ำมันมะกอกและคุณสมบัติในการช่วยย่อยอาหาร จึงนับได้ว่าน้ำมันมะกอกเป็น ไขมันธรรมชาติที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำนมมารดามากที่สุด
*ชราภาพการที่เรารู้จักหาวิธีการเพื่อต่อต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของเราเพื่อป้องกันภาวะ
ความเสื่อมถอยของสุขภาพอันเนื่องมาจากอายุที่เพิ่มขึ้นนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งจากการค้นคว้าวิจัยเรา
ได้ทราบว่าน้ำมันมะกอกมีคุณสมบัติในการต่อต้านภาวะความเสื่อมถอยของสมองและยังช่วยยืดอายุของเรา
ให้ยืนยาวขึ้นอีกด้วย
* ภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการค้นคว้าวิจัยพบว่า น้ำมันมะกอกนั้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ในขณะเดียวกันจะไม่ทำให้คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดระดับลง

Credit: http://women.thaiza.com/detail_31663.html
 
การนำน้ำมันมะกอกมาใช้
จะใช้น้ำมันมะกอกปรุงอาหารได้อย่างไร
1. นำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำสลัด หรือน้ำจิ้ม

2. นำมาใช้ในการผัด ชนิดที่ใช้น้ำมันน้อย เช่นผัดผักเร็ว ๆ ผัดกระเพรา มักกะโรนี สปาเก็ตตี หรือ พาสต้า

3. นำมาใช้ในการหมักเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ ก่อนที่จะนำไปอบจะทำให้เนื้อนุ่มขึ้น

4. ใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอด จะช่วยให้อาหารไม่อมน้ำมันเนื่องจากน้ำมันมะกอกจะให้ความร้อนสูง ทำให้อาหารสุกทั่วถึงอย่างรวดเร็ว ไม่สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย


Credit:
http://www.lcc.ac.th/forum/board_posts.asp?FID=176
http://naichef.50megs.com/olive.html
http://www.pantip.com/cafe/food/topic/D6914864/D6914864.html
http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=139.msg1069
http://www.pantown.com/board.php?id=10764&area=4&name=board11&topic=31&action=view

น้ำมันมะกอก (Olive Oil)

ผมมีเรื่องราวของ น้ำมันมะกอก (Olive Oil) มาฝากกันครับ
มีทั้งประวัติความเป็นมา ประเภทของน้ำมันมะกอก ประโยชน์ รวมถึงการนำมาใช้อีกด้วย .. มาติดตามกันได้เลยค้าบบบ 
=======================================
 
น้ำมันมะกอก (Olive Oil)

Credit: http://www.zazana.com/picupload/images/81643images.jpg

 
แม้อาหารทางบ้านเราจะไม่นิยมใช้ "น้ำมันมะกอก" ในการประกอบอาหารมากนัก แต่รู้ไหมว่าน้ำมันมะกอกนั้นถือเป็นน้ำมันพืชที่ปลอดภัยต่อร่างกายและให้ประโยชน์มากมายทีเดียว

>> แต่ก่อนที่จะทราบว่าประโยชน์ของน้ำมันมะกอกมีอะไรบ้างนั้น ผมว่าเรามาทำความรู้จักกับน้ำมันมะกอกกันซักเล็กน้อยก่อนดีกว่าครับ


พูดถึงมะกอกแล้ว คนไทยในบ้านเราก็มักจะนึกไปถึงผลมะกอกที่เอาไปใส่ในส้มตำ หรือไม่ก็ที่ไปจิ้มกินกับเกลือเป็นของกินเล่น น้อยคนที่จะนึกถึงมะกอกของฝรั่งที่มีชื่อว่า
โอลีฟ (olive)มะกอกชนิดนี้จัดเป็นพืชโบราณที่มีต้นกำเนิดและประวัติความเป็นมาที่แสนยาว นาน มะกอกกำเนิดขึ้นที่เกาะครีตเมื่อประมาณ 6,000 พันปีมาแล้ว มีหลักฐานและตำนานมากมายที่กล่าวถึงมะกอกเอาไว้ อย่างเช่นค้นพบพวงมาลัยที่ทำจากกิ่งมะกอกซึ่งวางอยู่บนตัวมัมมี่ระหว่างเทพี อะเธน่า (Athena) และโปสิดอน (Poseidon)เทพเจ้าแห่งท้องทะเล โปสิดอนต่อสู้ด้วยอาวุธที่แข็งแกร่งว่องไว ในขณะที่เทพีอะเธน่าสร้างต้นมะกอกมาเพื่อเป็นตัวแทนของความสว่างไสวในยามค่ำ คืน หรือในตำนานทายาทของพระเจ้าผู้สร้างกรุงโรม ก็ได้เห็นแสงสว่างครั้งแรกที่ใต้ต้นมะกอก
มะกอกเป็นต้นไม้ที่ทนทาน อายุยืนมากเป็นหลายร้อยปี ต้นมะกอกจึงเป็นเสมือนต้นไม้แห่งอมตะชีวิต เป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ ความดีงาม ความเจริญ ฯลฯ ที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวเมดิเตอร์เรเนียนมาแต่โบราณกาล
ในศตวรรษที่ 15 ชาวสเปนได้นำมะกอกเข้ามาสู่โลกยุคใหม่ แพร่กระจายไปทั่วยุโรปตอนใต้ และตลอดแนวของชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน จนกระทั่งปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมการเพาะปลูกมะกอกได้ขยายตัวขึ้นถึง 30-40 เท่า
มะกอกหรือโอลีฟมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Olea europaea เป็นพืชในวงศ์ Oleaceaeจัดเป็นผลไม้ที่มีเม็ดในแข็ง หนึ่งลูกจะมีหนึ่งเมล็ด เป็นพืชที่ทนได้ทุกสภาวะอากาศ ดอกมะกอกจะออกช่อในช่วงปลายฤดูหนาว มีดอกเล็กๆสีขาว ผลจะโตเต็มที่ประมาณ 7-8 เดือนหลังออกดอก ลำต้นจะสูงใหญ่กว่ามะกอกไทยบ้านเรามาก สูงตั้งแต่ 3 เมตร จนถึง 18 เมตร ใบเรียวยาวสีเขียวเข้ม มีหลายร้อยพันธุ์ ตัวผลจะมีรสขมและฝาด มีปริมาณสูง พอแก่จัดสีจะเปลี่ยนจากเขียวจนเป็นสีคล้ำจนเกือบดำ ถ้าจะนำไปสกัดเอาน้ำมันต้องเลือกผลแก่จัด แต่ถ้าจะนำมาบริโภคสดหรือนำไปประกอบอาหารต้องใช้มะกอกอ่อน
การนำมะกอกมากินสดนั้น มีข้อจำกัดอยู่ว่า ต้องนำมะกอกมากำจัดสารขมที่มีชื่อว่า Oleuropein ออกเสียก่อน มีทั้งนำไปแช่โซดาไฟ (Sodium hydroxide) หรือจะใช้วิธีธรรมชาติที่ง่ายที่สุดก็คือ แช่ในน้ำเกลือเข้มข้นทิ้งไว้ 1-2 วัน แล้วจึงล้างน้ำออก เพียงเท่านี้ก็สามารถกินผลสดของมันได้อย่างเอร็ดอร่อย ผลของมันนอกจากจะนิยมบริโภคสดๆแล้ว ยังนำมาดัดแปลงโดยการสอดไส้พริกพีเมียนโต หรือพริกหยวกลงไปดองกับน้ำเกลืออีกด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มรสชาติไปอีกแบบหนึ่ง รสชาติจะออกเค็ม เผ็ดแบบปะแล่มๆ มะกอกแบบนี้พบวางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ ผู้ผลิตจะนำเอามะกอกเขียวที่ยังไม่แก่จัดมาเข้าเครื่องดึงเมล็ดออก แล้วก็ยัดพริกที่ปอกเปลือกแล้วลงไป พริกที่ใช้ส่วนมากเป็นทางแถบเมืองหนาว ซึ่งไม่เผ็ดมาก ที่นิยมก็คือพริกพีเมียนโต และพริกหยวกสีแดง จากนั้นก็นำไปบรรจุขวดดองน้ำเกลือ ผลสดซึ่งผ่านการแปรรูปเหล่านี้นิยมนำมากินกับสลัด ตกแต่งจานอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารโดยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆใส่ลงไปเพื่อเพิ่มความหอมและรส ให้อาหาร เช่น หั่นแว่นตามขวางวางบนคานาเป้ หรือแซนด์วิชเปิดหน้า หรือไม่ก็กินเล่นตามชอบ
มะกอกจัดเป็นผลไม้ที่มีน้ำมันมากที่สุด ในผลมะกอกที่แก่จัด 100 กรัม ให้น้ำมันถึง 20-30 กรัม แต่กระบวนการหีบเอาน้ำมันจากผลมะกอกมิใช่เป็นเรื่องง่ายๆ ต้องผ่านหลายขั้นตอนอย่างพิถีพิถัน เริ่มตั้งแต่การคัดและเก็บผลด้วยคนงาน เครื่องจักรทำแทนไม่ได้เลย เพราะผลมะกอกแก่ไม่พร้อมกัน อีกทั้งต้องระมัดระวังมิให้ผลเกิดเสียหายในตอนเก็บและขนส่งไปโรงงาน
การคั้นน้ำมันมะกอกที่ดีเป็นวิธีการหีบเย็น (cold press) แบบโบราณ เริ่มด้วยการโม่ผลมะกอกให้เนื้อแหลก แล้วเอาไปเข้าเครื่องหีบน้ำมันออกโดยไม่ใช้ความร้อนเข้าช่วยเลย น้ำมันที่ไหลออกมาจากการหีบครั้งแรกถือเป็นน้ำมันคุณภาพดีที่สุด มีความบริสุทธิ์เพราะเป็นน้ำมันแรก การหีบครั้งต่อๆไปต้องใช้แรงมากขึ้น น้ำมันที่ได้มีคุณภาพด้อยลง ทั้งหมดนี้ใช้เครื่องมือทำจากหินและแรงคนเป็นหลัก
ปัจจุบันมีโรงงานกลั่นน้ำมันมะกอกสมัยใหม่ที่ใช้ความร้อนและเครื่องจักรใน การโม่และกลั่นน้ำมันมะกอก แต่น้ำมันมะกอกแบบนี้มีคุณภาพไม่ดีเท่าแบบวิธีหีบเย็นแบบเก่า หลังจากหีบเอาน้ำมันมะกอกได้แล้ว ก็ต้องเอามาเก็บไว้ในห้องใต้ดินที่มีอุณหภูมิเย็นพอเหมาะเป็นเวลาหลาย สัปดาห์ เพื่อให้เศษผงต่างๆจมตัว จากนั้นจึงนำมากรองและบรรจุขวดขาย

Credit: http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/476/2476/images/apr50/oliveoil.gif

ประเภทของน้ำมันมะกอก

ประเภทของน้ำมันมะกอก
สภาน้ำมันมะกอกนานาชาติได้แบ่งชนิดน้ำมันมะกอกตามคุณภาพ จากปริมาณกรดในน้ำมัน และนิยมเรียกชื่อตามความ "บริสุทธิ์" ดังนี้คือ

- ชนิดบริสุทธิ์พิเศษ Extra Virgin Olive Oil มีคุณภาพเยี่ยมที่สุด ประมาณความเป็นกรดต่ำกว่า 1% น้ำมันที่ออกมาบริสุทธิ์จริงๆ รสและกลิ่นมะกอกแรง
- ชนิดบริสุทธิ์ดีมาก Superfine Virgin Olive Oil มีความเป็นกรดต่ำไม่เกิน 1.5%
- ชนิดบริสุทธิ์ดี Fine Olive Oil มีความเป็นกรดต่ำระหว่าง 1.5 ถึง 3 %
- ชนิดบริสุทธิ์ Virgin or Pure Olive Oil ความเป็นกรดไม่เกิน 4% (หากเกินก็กินไม่ได้แต่ใช้เป็นน้ำมันจุดตะเกียงได้) โดยทั่วไปกลิ่นมะกอกจะมีเพียงอ่อนๆ
โดยทั่วไปน้ำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์พิเศษ (extra virgin) มีสีออกเขียวกว่าชนิดคุณภาพต่ำลงมา และถ้าจะให้ดีต้องได้มาด้วยวิธี cold press น้ำมันมะกอกคุณภาพดี ราคาแพงอย่างนี้ ควรเอามาปรุงเป็นน้ำสลัด หรือเครื่องปรุงรสของอาหารอื่น ไม่เหมาะนำมาเป็นน้ำมันสำหรับทอดหรือผัดอาหาร ซึ่งอาจใช้น้ำมันมะกอกเกรดต่ำลงมาได้ อนึ่ง น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์พิเศษอย่าง cold press อาจเสียรสไปได้หากถูกความร้อนทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส
นอกจากค่าของกรดที่เป็นตัวกำหนดคุณภาพของน้ำมันมะกอกแล้ว รสชาติและกลิ่นของน้ำมันมะกอกยังแปรไปตามเขตที่ปลูก น้ำมันมะกอกจากที่เดียวกัน ก็อาจมีกลิ่นและรสชาติแตกต่างกันไปได้ ในทางปฏิบัติการซื้อขายน้ำมันมะกอกแบบขายส่งจึงต้องมีการชิมก่อนเหมือนการ ชิมไวน์อย่างไรอย่างนั้น

ส่วนประเทศที่ผลิตน้ำมันมะกอก แต่ละประเทศจะมี Character ของตัวเอง เช่น
a) Greece จะมีความข้นกว่า (Heavy Texture)
b) Spain จะมีกลิ่นและรสชาติที่แรงกว่าประเทศอื่น
c) ฝรั่งเศส (Provencal) จะมีกลิ่นหอมหวาน (Fruity)
d) Italy จะคล้ายกับ Spain จะมีกลิ่นที่เด่นกว่า เหมือนกัน
ต่ทั้งนี้ในฉลากของน้ำมันมะกอก จะมีชื่อของพันธุ์มะกอกที่ใช้ทำน้ำมันอยู่ ให้มองหา Green Provencal หรือ Tuscan Olives เพราะนี่คือมะกอก พันธุ์ดีที่สุด หรือถ้าอ่านไม่เจอ ก็เลือกตามความต้องการจากประเทศผู้ผลิตครับ

นอกเหนือจากน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์แล้ว ในท้องตลาดยังมีน้ำมันมะกอกผสม คือผสมกับน้ำมันพืชอื่นๆ ในทางปฏิบัติมีระเบียบว่าจะต้องมีส่วนผสมน้ำมันมะกอกกลั่น 5-10% จึงจะเรียกชื่อเป็นน้ำมันมะกอกผสมได้
ในทางปฏิบัติ การเลือกซื้อน้ำมันมะกอกก็เลือกตามระดับความบริสุทธิ์ที่กล่าวไปแล้ว ทางที่ดีควรเลือกแบบ cold press เรื่องรสชาติอาจแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและแหล่งผลิต ก็ต้องลองซื้อมากินดูจนได้ที่ถูกใจ ข้อคำนึงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือราคา เนื่องจากน้ำมันมะกอก extra virgin ราคาค่อนข้างสูง จึงควรเลือกใช้เฉพาะทำน้ำสลัดหรือปรุงรสอาหารเท่านั้น ยิ่งสำหรับผู้ที่เริ่มลองใช้น้ำมันมะกอกใหม่ ยังไม่ชินกับกลิ่นน้ำมันมะกอกแรงๆ ก็น่าจะลองใช้ชนิดที่คุณภาพต่ำลงมา เพราะนอกจากกลิ่นมะกอกอ่อนลงแล้ว สนนราคายังถูกอีกด้วย โดยเฉพาะถ้าทำอาหารทอด หรืออาหารผัด ก็จะเหมาะพอดีกัน
น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันทำอาหารที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพ แต่รสนิยมอาหารเป็นเรื่องวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น เฉพาะสังคม การรับของดีจากวัฒนธรรมอื่นจึงต้องผ่านการเลือกและประยุกต์ใช้โดยคนใน วัฒนธรรมนั้นๆ ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันมะกอก จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการพิจารณาประยุกต์ใช้ ตามความเหมาะสมของวิถีครัวไทยและเงื่อนไขของแต่ละคน

Credit: http://qwer.dek-d.com/contentimg/general/77_17.jpg