Thursday, November 22, 2012

ต้นมะกอก ใบมะกอก




ต้นมะกอก
มีชื่อภาษาท้องถิ่นว่า กอก กูก มะกอกป่า มะกอกดง มะกอกฝรั่ง และมะกอก มีชื่อภาษาอังกฤษว่า ฮ๊อกปาล์ม (Hog Plum) ไวด์แมงโก (Wild Mango) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า สปอนเดียส พินนาตา (Spondias pinnata Kurz) จัดอยู่ในวงศ์ อะนาคาเคลียซีอี้ (Anacarcliaceae)


มะกอก มีคุณค่าทางโภชนาการคือ ประกอบด้วย พลังงาน เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก
เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน และ วิตามินซี

สรรพคุณของมะกอกและวิธีใช้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของมะกอก คือ ใบ ยอดอ่อนและใบอ่อน ผล เปลือกผล ราก และเมล็ด ซึ่งแต่ละส่วนจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้ ค่ะ
ใบมะกอก ใช้ใบมะกอกมาคั้นเอาน้ำ นำน้ำที่ได้ไปหยอดหู ใช้แก้หูอักเสบ
ยอดอ่อนใบอ่อนของมะกอก ใช้แก้โรคบิด แก้โรคธาตุพิการ แก้ท้องเสีย มีรายงานว่าในยอดอ่อนของมะกอก 100 กรัม จะให้พลังงาน 46 กิโลแคลอรี นอกจากนี้แล้วยังพบว่าในยอดอ่อนของมะกอก 100 กรัมนั้นจะประกอบด้วยเส้นใย 16.7 กรัม แคลเซียม 49 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2017 ไมโครกรัม วิตามินเอ 337 ไมโครกรัม วิตามินซี 53 มิลลิกรัม ด้วยเหตุนี้ยอดอ่อนของมะกอกจึงสามารถใช้รับประทานเป็นผักสดได้เป็นอย่างดี สำหรับในบ้านเรานิยมที่จะนำยอดอ่อนของมะกอกมาใช้เป็นเครื่องเคียงน้ำพริก กะปิ หรือใช้เป็นผักสดรับประทานกับขนมจีนน้ำยา


ผลมะกอก ใช้แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน และต้านอนุมูลอิสระ (วิตามินซีสูง) แก้ธาตุพิการแก้โรคขาดแคลเซียม ทำให้ชุ่มคอแก้กระหายน้ำ
ผล เปลือกผล ใบ มีสรรพคุณบำรุงสายตา ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ แก้เลือดออกตามไรฟัน มีสารต้านมะเร็ง และแก้ดีพิการ
รากมะกอก แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ มีสรรพคุณใช้ขับปัสสาวะ
เมล็ดมะกอก แช่เมล็ดมะกอกในน้ำ แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้ดื่มแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึก
เปลือกต้นมะกอก ดับพิษกาฬ แก้ร้อนใน ทำยาแก้ท้องเสีย


มะกอก : จากป่ามาสู่บ้านและครัว
มะกอกที่นำมากล่าวถึงนี้ เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านยังนึกหน้าตาไม่ออก หรือบางคนอาจนึกถึงผลมะกอกดองหรือมะกอกเชื่อมที่เคยกินจากรถเข็น ซึ่งความจริงเป็นผลของมะกอกน้ำอันเป็นผลไม้คนละชนิดกับมะกอกที่กำลังพูดถึง อยู่นี้ เพราะมะกอกซึ่งยกมาขึ้นต้นและกำลังจะเขียนถึงต่อไป เป็นต้นไม้ที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า spondias pinnata Kurz. ภาษาอังกฤษเรียก Hog Plum (ผลคล้ายลูกพลับ หมูป่าชอบกินผลมะกอก) ในประเทศไทยเรียกกันหลายชื่อ ทั่วไปเรียก มะกอก มะกอกบก มะกอกไทย มะกอกป่า ภาคใต้เรียกว่า กอก เชียงรายเรียกว่า กอกก๊ก เป็นต้น

“มะกอก เป็นผักพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยที่นำมาใช้ประกอบอาหารกันอย่างกว้างขวาง”

มะกอก เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง โตเต็มที่อาจสูงกว่า 10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นอาจถึง 1 เมตร เปลือกเรียบ ต้นแก่เปลือกแตกเป็นร่อง เนื้อไม้สีขาว อ่อน ไม่มีแก่น ใบมีลักษณะใบรวมคล้ายขนนก ใบย่อยเป็นรูปไข่ออกสลับกันบนก้านใบ ผลเป็นรูปไข่ มีหลายขนาดปกติขนาดไข่ไก่ ผลสุกมีผิวสีเขียวอมเหลืองและจุดประสีเหลืองเข้มสลับดำ ในแต่ละผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ๆ เพียงเมล็ดเดียว เปลือกของเมล็ดมีเส้นใยหยาบปกคลุมคล้ายเมล็ดมะม่วง ช่อดอกมีสีขาวนวล ลักษณะคล้ายช่อดอกมะม่วง เพราะเป็นพืชอยู่ในวงศ์ (Family) เดียวกับมะม่วง คือ วงศ์ anacardiaceae

ในธรรมชาติมะกอกขึ้นเองตามป่าเบญจพรรณแล้งและ ป่าแดงทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบขึ้นอยู่ตามเรือกสวนไร่นาหรือในบริเวณบ้าน เนื่องจากมีผู้นำมาปลูกไว้ ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของมะกอกอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมทั้งไทย) แลหมู่เกาะต่างๆ ในเขตร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่ามะกอกเป็นพืชดั้งเดิมของชาวไทยชนิดหนึ่งเป็นที่รู้จัก คุ้นเคยอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวไทยมาแสนนาน


คน ไทยรู้จักและใช้ประโยชน์ มะกอกในฐานะผักพื้นบ้านอย่างหนึ่งมากกว่าใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ใบอ่อน (ยอด) และช่อดอกของมะกอกนั้น ชาวไทยนำมากินเป็นผักทั้งดิบและสุก ในตำรับสายเยาวภา กล่าวถึง มะกอกไว้ว่า “ยอดมะกอก กินดิบเป็นผักจิ้ม สุกก็กินได้ เผาจิ้มน้ำพริก” “ช่อมะกอก กินดิบ” ใบอ่อนมะกอกมีกลิ่นหอม รสเปรี้ยวและฝาดสมานใช้ได้ทั้งเป็นผักจิ้ม ใส่ยำ และแต่งกลิ่นอาหาร ช่อดอกมะกอกใช้ได้เช่นเดียวกับใบอ่อน

สำหรับผลมะกอกนิยมใช้ผลสุก ซึ่งมีรสเปรี้ยวอมฝาด หากกินเปล่าๆ ครั้งแรกจะรู้สึกเปรี้ยวอมฝาดต่อมาจะเปลี่ยนเป็นรสหวาน ชุ่มคอ ผลสุกมีกลิ่นหอมมาก เป็นกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งใช้แต่งกลิ่นอาหารได้ดี เช่น ใช้ตำน้ำพริกมะกอก โดยใช้ทั้งเนื้อสุกและเปลือกใช้แต่งรสน้ำปลาจิ้มพวกเนื้อหรือปลาย่าง ที่นิยมมากที่สุด คือ ใช้ผลมะกอกสุกเป็นส่วนประกอบของส้มตำ (ลาว) ให้กลิ่นและรสชาติเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนส้มตำตำรับอื่นๆ ความนิยมใช้ผลมะกอกสุกในตำรับส้มตำ (ลาว) นั้น เห็นได้จากราคาของผลมะกอกสุก ซึ่งบางฤดู (ที่มีผลมะกอกสุกน้อย) ราคาแพงถึงผลละหลายบาทเช่นเดียวกับราคาของผลมะนาวหน้าแล้งนั่นเอง

ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของมะกอก
เนื้อในผลสุกของมะกอกนอกจากใช้ทำกับข้าว (ของคาว) แล้วยังใช้ทำน้ำผลไม้ (ของหวาน) เป็นเครื่องดื่มได้ดีอีกด้วย โดยปอกเปลือกออกฝานเอาแต่เนื้อไปเข้าเครื่องปั่นผลไม้ เติมน้ำเชื่อมให้มีรสหวานตามชอบ จะได้เครื่องดื่มน้ำมะกอกที่มีกลิ่นและรสชาตอร่อยไม่เหมือนใคร และยังอุดมด้วยวิตามินซีและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่างๆ อีกด้วย

เนื้อไม้มะกอกแม้จะเป็นไม้เนื้ออ่อน แต่ก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำกล่องไม้ขีด ทำไม้จิ้มฟัน ทำกล่องใส่ของ และหีบศพ เป็นต้น

ในตำราสรรพคุณสมุนไพรไทยกล่าวถึง คุณสมบัติของมะกอกในแง่สมุนไพรไว้หลายประการ เช่น
เปลือก ป่นเป็นผง ผสมน้ำ ใช้ทาแก้โรคปวดตามข้อ ใช้เป็นยาเย็นแก้โรคท้องเสีย โรคเกี่ยวกับลำไส้ ระงับอาเจียน

เมล็ด เผาไฟ แช่เอาน้ำดื่ม แก้อาการผิดสำแดง แก้ร้อนใน แก้หอบ สะอึก

ผลสุก ใช้เป็นยาฝาดสมาน แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด) รักษาโรคกระเพาะอาหารพิการ

แม้ตำราปลูกต้นไม้ในบ้านของชาวไทยจะไม่ถือว่ามะกอกเป็นไม้มงคล เพราะไม่มีข้อห้ามมิให้ปลูกมะกอกในบริเวณบ้าน (เช่น ลั่นทมหรือมะรุม) ดังนั้น หากผู้อ่านท่านใดมีพื้นที่บริเวณบ้านพอก็น่าจะหามะกอกมาปลูกไว้สักต้น เพราะนอกจากรูปทรงต้นและลักษณะใบที่งดงามแล้ว ท่านยังจะได้ประโยชน์จากมะกอกมากมาย

คุณค่าด้านอื่น ๆ ของมะกอก..

ไบโอเธิร์มค้นพบใบมะกอกชะลอผิวแก่ก่อนวัยต้านริ้วรอย
พืชพันธุ์อินเทรนด์ยามนี้เห็นทีจะไม่มีอะไรเท่า “มะกอก” อีกแล้ว แม้บ้านเราจะรู้จักน้ำมันมะกอกที่ใช้ชะโลมเส้นผมมานานแสนนานล่าสุด ไบโอเธิร์มได้พาลัดฟ้าเยี่ยมชมห้องปฎิบัติการที่ฝรั่งเศสและโมนาโก เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ต่อต้านริ้วรอยตัวใหม่ล่าสุด age fitness ที่มีส่วนผสมหลักจากธรรมชาติ ซึ่งก็คือสารสกัดบริสุทธิ์จากใบมะกอกที่เราสกัด เอาน้ำมันมาใช้นั่นแหละ แถมใบมะกอกยังมีส่วนช่วยชะลอวัยและริ้วรอยได้อีกด้วย ในห้องปฏิบัติการ มร.ลูเซียน อูแบร์ ผอ.ด้านวิจัยและพัฒนาของไบโอเธิร์มเล่าสรรพคุณของต้นมะกอก ที่ทำให้ชาวตะวันตกตื่นตัวกันมากขึ้น เป็นไม้ที่แข็งแรงทนทาน มีอายุยืนยาว มีชีวิตอยู่ได้แม้ในสภาพอากาศที่เลวร้ายทุกส่วนของมะกอกสามารถนำมาใช้ ประโยชน์ได้ทั้งหมด ดังนั้นนักชีววิทยาจึงได้ทำการวิจัยและพบว่าไฟเบอร์ในใบมะกอกเต็มไปด้วย โมเลกุลจำนวนมหาศาลเป็นสารแอนตี้ออกซิเดนซ์และเข้มข้นกว่าในผลมะกอกเสียอีก และใบมะกอกที่นำมาสกัดเป็นส่วนผสมสำคัญนั้นนำมาจากเมืองโพรวองซ์ ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส โดยใช้ขั้นตอนการสกัดที่ไม่ใช้สารเคมีใด ๆทั้งสิ้น หรือที่เรียกว่า biological+natural หรือชีววิทยา+ธรรมชิาตินั้นเอง จะทำให้สารสกัดเข้มข้น 100% และอุดมไปด้วย oleuropein ที่มีคุณสมบัติเด่นในการต่อต้านการเกิดริ้วรอยและอาการแก่ก่อนวัยการปกป้อง ผิวทางธรรมชาติเพราะพบว่า เซลล์ที่ได้รับสารสกัดเข้มข้นของใบมะกอกการเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนบนชั้น ไขมันของผิวหนังเนื้อเยื่อที่มีการเติมสารสกัดเข้มข้นบริสุทธิ์ของใบมะกอก การกระตุ้นกระบวนการสังเคราะห์คอลลาเจน จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมนอกจากน้ำมันมะกอกจะให้รสชาติที่ถูกปากและ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแล้วส่วนที่ได้จากใบมะกอกก็ไม่น้อยหน้าสามารถนำมาช่วย บำรุงผิวพรรณชะลอริ้วรอยที่เกิดก่อนวัยอันควร แบบนี้คงไม่มีใครปฎิเสธ มะกอก ต้นไม้ที่กำลังอินเทรนด์อยู่ในเวลานี้อีกแล้ว
จัดทำโดย นางสาวพูลศิริ คลีดิษฐ์ ไทยรัฐ


ด้านทำอาหาร
ความเป็นมา
ใบมะกอกอ่อนๆ มีรสเปรี้ยวอมฝาด นิยมกินกับน้ำพริกหรือปลาร้าสับ คนเมืองกาญจน์เอาใบมะกอกมายำกับเนื้อสัตว์ อร่อยมาก ยิ่งถ้าเป็นแย้ย่างจะเด็ดมาก แต่ผมไม่กินสัตว์ป่าเลยเปลี่ยนเป็นกบย่างแทน


ส่วนผสม
1. กบสาวๆ ย่างกาบมะพร้าวหอมๆ สักสองตัว ถ้าเขาย่างมาไม่แห้งให้เอามาย่างซ้ำให้แห้งๆ หน่อย
2. ใบมะกอกอ่อน เอามาย่างไฟแรงๆ ให้เกรียมๆ บ้าง และบางส่วนก็ให้พอสลบ
3. ตะไคร้ ใบมะกรูด
4. หอมย่าง พริกแห้งย่าง
5. น้ำพริกเผา ควรทำเอง อย่างขายเป็นขวดมักหวานไปหน่อย



วิธีทำ
สับกบแล้วฉีกๆๆๆ ไม่เอากระดูก ไม่เอาเล็บเท้ากบ กินแล้วระคายปาก
ใบมะกอกย่างหั่นฝอยๆๆๆๆ
ตะไคร้ใบมะกรูดซอยๆๆๆๆ
พริกแห้งย่างไฟ หัวหอมย่างไฟ หั่นๆ ฉีกๆ รอไว้
เอาทั้งหมดคลุกเคล้ากัน อย่าลืมใส่น้ำพริกเผา ปรุงรส ให้มีความเผ็ดจากน้ำพริกเผา เค็มน้ำปลา และเปรี้ยวใบมะกอก

ที่ี่มาของข้อมูลและภาพ

http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio45-46/45-460052.htm
http://www.vcharkarn.com/varticle/39908
http://www.siamfishing.com/content/view.php?id=141&cat=recipe
http://new.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-2290.html

0 comments:

Post a Comment