น้ำมันมะกอก (Olive Oil)
Credit: http://www.zazana.com/picupload/images/81643images.jpg
แม้อาหารทางบ้านเราจะไม่นิยมใช้ "น้ำมันมะกอก" ในการประกอบอาหารมากนัก แต่รู้ไหมว่าน้ำมันมะกอกนั้นถือเป็นน้ำมันพืชที่ปลอดภัยต่อร่างกายและให้ประโยชน์มากมายทีเดียว
>>
แต่ก่อนที่จะทราบว่าประโยชน์ของน้ำมันมะกอกมีอะไรบ้างนั้น
ผมว่าเรามาทำความรู้จักกับน้ำมันมะกอกกันซักเล็กน้อยก่อนดีกว่าครับ
พูดถึงมะกอกแล้ว คนไทยในบ้านเราก็มักจะนึกไปถึงผลมะกอกที่เอาไปใส่ในส้มตำ
หรือไม่ก็ที่ไปจิ้มกินกับเกลือเป็นของกินเล่น
น้อยคนที่จะนึกถึงมะกอกของฝรั่งที่มีชื่อว่าโอลีฟ (olive)
มะกอกชนิดนี้จัดเป็นพืชโบราณที่มีต้นกำเนิดและประวัติความเป็นมาที่แสนยาว
นาน มะกอกกำเนิดขึ้นที่เกาะครีตเมื่อประมาณ 6,000 พันปีมาแล้ว
มีหลักฐานและตำนานมากมายที่กล่าวถึงมะกอกเอาไว้
อย่างเช่นค้นพบพวงมาลัยที่ทำจากกิ่งมะกอกซึ่งวางอยู่บนตัวมัมมี่ระหว่างเทพี
อะเธน่า (Athena) และโปสิดอน (Poseidon)
เทพเจ้าแห่งท้องทะเล โปสิดอนต่อสู้ด้วยอาวุธที่แข็งแกร่งว่องไว
ในขณะที่เทพีอะเธน่าสร้างต้นมะกอกมาเพื่อเป็นตัวแทนของความสว่างไสวในยามค่ำ
คืน หรือในตำนานทายาทของพระเจ้าผู้สร้างกรุงโรม
ก็ได้เห็นแสงสว่างครั้งแรกที่ใต้ต้นมะกอก
มะกอกเป็นต้นไม้ที่ทนทาน อายุยืนมากเป็นหลายร้อยปี
ต้นมะกอกจึงเป็นเสมือนต้นไม้แห่งอมตะชีวิต เป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ
ความดีงาม ความเจริญ ฯลฯ
ที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวเมดิเตอร์เรเนียนมาแต่โบราณกาล
ในศตวรรษที่ 15 ชาวสเปนได้นำมะกอกเข้ามาสู่โลกยุคใหม่
แพร่กระจายไปทั่วยุโรปตอนใต้ และตลอดแนวของชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน
จนกระทั่งปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมการเพาะปลูกมะกอกได้ขยายตัวขึ้นถึง 30-40
เท่า
มะกอกหรือโอลีฟมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Olea europaea เป็นพืชในวงศ์ Oleaceae
จัดเป็นผลไม้ที่มีเม็ดในแข็ง หนึ่งลูกจะมีหนึ่งเมล็ด
เป็นพืชที่ทนได้ทุกสภาวะอากาศ ดอกมะกอกจะออกช่อในช่วงปลายฤดูหนาว
มีดอกเล็กๆสีขาว ผลจะโตเต็มที่ประมาณ 7-8 เดือนหลังออกดอก
ลำต้นจะสูงใหญ่กว่ามะกอกไทยบ้านเรามาก สูงตั้งแต่ 3 เมตร จนถึง 18 เมตร
ใบเรียวยาวสีเขียวเข้ม มีหลายร้อยพันธุ์ ตัวผลจะมีรสขมและฝาด มีปริมาณสูง
พอแก่จัดสีจะเปลี่ยนจากเขียวจนเป็นสีคล้ำจนเกือบดำ
ถ้าจะนำไปสกัดเอาน้ำมันต้องเลือกผลแก่จัด
แต่ถ้าจะนำมาบริโภคสดหรือนำไปประกอบอาหารต้องใช้มะกอกอ่อน
การนำมะกอกมากินสดนั้น มีข้อจำกัดอยู่ว่า
ต้องนำมะกอกมากำจัดสารขมที่มีชื่อว่า Oleuropein ออกเสียก่อน
มีทั้งนำไปแช่โซดาไฟ (Sodium hydroxide)
หรือจะใช้วิธีธรรมชาติที่ง่ายที่สุดก็คือ แช่ในน้ำเกลือเข้มข้นทิ้งไว้ 1-2
วัน แล้วจึงล้างน้ำออก
เพียงเท่านี้ก็สามารถกินผลสดของมันได้อย่างเอร็ดอร่อย
ผลของมันนอกจากจะนิยมบริโภคสดๆแล้ว
ยังนำมาดัดแปลงโดยการสอดไส้พริกพีเมียนโต
หรือพริกหยวกลงไปดองกับน้ำเกลืออีกด้วย
เพื่อเป็นการเพิ่มรสชาติไปอีกแบบหนึ่ง รสชาติจะออกเค็ม เผ็ดแบบปะแล่มๆ
มะกอกแบบนี้พบวางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่
ผู้ผลิตจะนำเอามะกอกเขียวที่ยังไม่แก่จัดมาเข้าเครื่องดึงเมล็ดออก
แล้วก็ยัดพริกที่ปอกเปลือกแล้วลงไป พริกที่ใช้ส่วนมากเป็นทางแถบเมืองหนาว
ซึ่งไม่เผ็ดมาก ที่นิยมก็คือพริกพีเมียนโต และพริกหยวกสีแดง
จากนั้นก็นำไปบรรจุขวดดองน้ำเกลือ
ผลสดซึ่งผ่านการแปรรูปเหล่านี้นิยมนำมากินกับสลัด ตกแต่งจานอาหาร
ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารโดยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆใส่ลงไปเพื่อเพิ่มความหอมและรส
ให้อาหาร เช่น หั่นแว่นตามขวางวางบนคานาเป้ หรือแซนด์วิชเปิดหน้า
หรือไม่ก็กินเล่นตามชอบ
มะกอกจัดเป็นผลไม้ที่มีน้ำมันมากที่สุด ในผลมะกอกที่แก่จัด 100 กรัม
ให้น้ำมันถึง 20-30 กรัม
แต่กระบวนการหีบเอาน้ำมันจากผลมะกอกมิใช่เป็นเรื่องง่ายๆ
ต้องผ่านหลายขั้นตอนอย่างพิถีพิถัน เริ่มตั้งแต่การคัดและเก็บผลด้วยคนงาน
เครื่องจักรทำแทนไม่ได้เลย เพราะผลมะกอกแก่ไม่พร้อมกัน
อีกทั้งต้องระมัดระวังมิให้ผลเกิดเสียหายในตอนเก็บและขนส่งไปโรงงาน
การคั้นน้ำมันมะกอกที่ดีเป็นวิธีการหีบเย็น (cold press) แบบโบราณ
เริ่มด้วยการโม่ผลมะกอกให้เนื้อแหลก
แล้วเอาไปเข้าเครื่องหีบน้ำมันออกโดยไม่ใช้ความร้อนเข้าช่วยเลย
น้ำมันที่ไหลออกมาจากการหีบครั้งแรกถือเป็นน้ำมันคุณภาพดีที่สุด
มีความบริสุทธิ์เพราะเป็นน้ำมันแรก การหีบครั้งต่อๆไปต้องใช้แรงมากขึ้น
น้ำมันที่ได้มีคุณภาพด้อยลง
ทั้งหมดนี้ใช้เครื่องมือทำจากหินและแรงคนเป็นหลัก
ปัจจุบันมีโรงงานกลั่นน้ำมันมะกอกสมัยใหม่ที่ใช้ความร้อนและเครื่องจักรใน
การโม่และกลั่นน้ำมันมะกอก
แต่น้ำมันมะกอกแบบนี้มีคุณภาพไม่ดีเท่าแบบวิธีหีบเย็นแบบเก่า
หลังจากหีบเอาน้ำมันมะกอกได้แล้ว
ก็ต้องเอามาเก็บไว้ในห้องใต้ดินที่มีอุณหภูมิเย็นพอเหมาะเป็นเวลาหลาย
สัปดาห์ เพื่อให้เศษผงต่างๆจมตัว จากนั้นจึงนำมากรองและบรรจุขวดขาย
Credit: http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/476/2476/images/apr50/oliveoil.gif
Monday, May 13, 2013
น้ำมันมะกอก (Olive Oil)
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
0 comments:
Post a Comment